วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Diary notes2

Diary notes

วิชา  การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Creative Art Experiences Management for Early Childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี 21/01/59
เรียนครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08:30 - 13:30
กลุ่ม 102 วันพฤหัสบดี ห้อง 15-0707




Knowledge

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะสร้างสรรค์




ทฤษฏีพัฒนาการ

   -พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์

    -ทฤษฏีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด Guilford

นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของสติปัญญา

-เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์  -ความมีเหตุผล  -การแก้ปัญหา

    ความสามารถของสมอง  แบ่งออกเป็น 3 มิติ

มิติที่ 1 เนื้อหา  

เกี่ยวกับข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อที่เป็นการคิด

สองรับข้อมูลเข้าไปคิดพิจารณา 4 ลักษณะ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา พฤติกรรม

มิติที่ 2 วิธีการคิด 

แสดงถึงลักษณะการทำงานของสมองใน 5 ลักษณะ

-การรู้จัก การเข้าใจ  -การจำ  -การคิดแบบอเนกนัย    -การคิดแบบเอกนัย   -การประเมินค่า

มิติที่ 3 ผลของการคิด

แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมองจากมิติที่ 1 และมิติที่ 2

มี 6 ลักษณะ  หน่วย จำพวก ความสัมพันธ์ ระบบ การแปลงรูป  การประยุกต์


  สรุป เป็นทฤษฏีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา  ทำให้ทราบถึงความสามารถของสมองที่แตกต่างกัน

ถึง 120 ความสามารถตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3 มิติ คือ เนื้อหา 4 มิติ วิธีการ

คิด 5 มิติ  และผลทางการคิด 6 มิติ  รวมความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์ด้วย คือ วิธีคิดแบบอเนก

นัย เป็นการคิดหลายทิศทาง  หลายแง่มุม คิดได้กว้าง ซึ่งลักษณะการคิดนี้ จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้น

สิ่งที่แปลกใหม่



    -ทฤษฏีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์  Torrance

นักจิตวิทยา และนักการศึกษาชาวอเมริกัน เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า

-ความคล่องแคล่วในการคิด  -ความยืดหยุ่นในการคิด  -ความริเริ่มในการคิด

แบ่งลำดับความคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น 

  1. ขั้นการค้นพบความจริง  เป็นขั้นเริ่มต้น ค้นพบสาเหตุ
  2. ขั้นการค้นพบปัญหา  เป็นขั้นที่สามารถคิดได้และเกิดความเข้าใจปัญหา
  3. ขั้นการตั้งสมมติฐาน  พยายามแก้ไขปัญหา หาทางออกโดยการตั้งสมมติฐาน
  4. ขั้นการค้นพบคำตอบ   เป็นการทดลองสมมติฐาน เพื่อหาคำตอบ
  5. ขั้นตอบรับผลจากการค้นพบ  ทดสอบสมมติฐานและสรุปสมมติฐาน เพื่อการแก้ปัญหาหรือทางออกที่ดีที่สุด
     สรุป เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่ขาดหายไป แล้วเกิดความพยายามในการ

สร้างแนวคิด ตั้งสมมติฐาน  ทดสอบสมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้  ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้มี

ลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหา ทางวิทยาศาสตร์ จึงเรียกว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่าสร้างสรรค์

   


 -ทฤษฏีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)

เป็นทฤษฏีที่ได้รับความสนใจ เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์

การทำงานของสมองสองซีก ต่างกัน

   สมองซีกซ้าย      ทำงานส่วนความคิดที่เป็นเหตุผล

   สมองซีกขวา      ทำงานส่วนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์




- ทฤษฏีการคิดสองลักษณะ

      แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี กล่าวว่า คนเรามีสมอง 2 ซีก

สมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วง 4-ปี

สมองซีกซ้าย เป็นส่วนของความคิดที่มีเหตุผล พัฒนาในช่วง 9-12 ปี เจริญเติบโตช่วง 11-13 ปี

      แนวคิดเกี่ยวกับสมองสองซีกได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนาการจัดการศึกษา คือ ผู้เรียนได้เรียนรู้

และทำกิจกรรมแบบบูรณาการ มีการเรียนรูแบบวัฏจักรการเรียนรู้ หรือ 4 MAT และมีการทำกิจกรรมที่

หลากหลาย





   -ทฤษฏีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์  Gardner

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการศึกษา ชาวอเมริกัน ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญา

 ผู้คิดค้นทฤษฏีพหุปัญญา

      ทฤษฏีพหุปัญญาจำแนกความสามารถเอาไว้ 9 ด้าน ได้แก่  ความสามารถด้านภาษา  ความสามารถ

ด้านดนตรี   ความสามารรถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย   ความสามารถด้านมนุษย์

สัมพันธ์  ความสามารถด้าธรรมชาติศึกษา   ความสามารถในการคิดพลิกแพลง   ความสามารถด้านตรรกะ

วิทยาและคณิตศาสตร์   ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์   ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์

ลักษณะสำคัญของทฤษฏีพหุปัญญา

    ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้าน  ทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9 ด้านมากน้อยแตกต่างกัน และสามารถ

พัฒนาให้สูลขึ้นได้ และปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้ และมีความหลากหลาย




   -ทฤษฏีโอศา Auto

เดวิส Davis  และ ซัลลิแวน Sullivan

ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถพัฒนาได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูป

แบบโอศา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 ความคิดตระหนัก
การพัฒนาปรีชาญาณ การรู้จักและเข้าใจตนเอง การมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม

ขั้นตอนที่ 2 ความเข้าใจ
มีความรู้เนื้อหาในเรื่องบุคลิกภาพ  เทคนิควิธีการความคิดสร้างสรรค์

ขั้นตอนที่ 3 เทคนิควิธี
การระดมสมอง การคิดเชิงเปรียบเทียบ การฝึกจินตนาการ เทคนิคในการฝึกความคิด

ขั้นตอนที่ 4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
เปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆมีความคิดริเริ่มและผลิตผลงานด้วยตนเอง





พัฒนาการทางศิลปะ

เคลล็อก Kellogg  ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัยและจำแนกได้เป็น 4 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย Placement Stage  เด็กวัย 2 ขวบ
ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ เป็นเส้นตรงบ้างโค้งบ้าง โดยปราศาจากการควบคุม


ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง  Shape Stage  เด็กวัย 3 ขวบ
ขีดๆเขียนเป็นรูปร่างมากขึ้น เขียนวงกลมได้ ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น



ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ  Design Stage  เด็กวัย 4 ขวบ
ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน วาดโรงเส้นหรือวาดสี่เหลี่ยมได้



ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ  Pictorial Staga   เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
เริ่มแยกแยะวัสดุที่เหมือนกันได้ รับรู้ความเป็นจริง ควบคุมการขีดเขียนได้ วาดสามเหลี่ยมได







พัฒนาการด้านร่างกาย

กีเซลล์และคอร์บีน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก

ด้านการตัด
  อายุ 3-ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนเล็กได้
  อายุ 4-ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
  อายุ 5-ปี ตัดกระดาษตามเส้นโค้งหรือรูปต่างๆได้

การขีดเขียน
  อายุ 3-ปี เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
  อายุ 4-ปี เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้
  อายุ 5-ปี เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้

การพับ
  อายุ 3-ปี พับและพับสันกระดาษสองทบตามแบบได้
  อายุ 4-ปี พับและพับสันกระดาษสามทบตามแบบได้
  อายุ 5-ปี พับและพับสันกระดาษได้คล่องแคล่ว

การวาด
  อายุ 3-ปี วาดภาพคนได้
  อายุ 4-ปี วาดส่วนประกอบต่างๆของคนได้

  อายุ 5-ปี วาดเป็นมิติได้




กิจกรรมสร้างสรรค์

กิจกรรมที่1 มือน้อยสร้างสรรค์

                                                     Before                                    After



กิจกรรมที่2 วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้ พร้อมตกแต่งระบายสีให้สวยงาม


                                                    Before                                                                 After





Skill
  • ทักษะการคิด
  • ทักษะการตอบคำถาม
  • ทักษะการวาดภาพ

Adoption

          การนำความรู้ไปศึกษา เพื่อเพิ่มความรู้ให้กับตนเองมากยิ่งขึ้นและนำไปปรับใช้ในการสอนศิลปะสร้างสรรค์กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง ให้เด็กได้ระบายสีภาพที่วาดด้วยเองเองโดยที่ครูปล่อยให้เด็กได้ใช้จินตนาการของตนเอง เด็กจะได้มีความอิสระ และความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น


Evaluation


Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อย ร่วมทำกิจกรรมและตั้งใจทำกิจกรรม ทุกๆกิจกรรม        และได้พัฒนาความคิดของตนเองด้วย

Friends = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และตั้งใจทำกิจกรรม

Teacher = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอและคอยกระตุ้นให้             นักศึกษาฝึกการคิดตามและเห็นภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น